top of page

Introduction Gismans Asia

         สำนักงานภูมิศาสตร์สารสนเทศ Gismans Asia ก่อตั้งในปี 2552 โดย อาจารย์ ศุภชาติ บุตรดีขันธ์ กรรมการและที่ปรึกษาผังเมืองรวมจังหวัดเชียงใหม่  เป็นผลจากจากกระบวนการทำงานที่ได้ทำภารกิจการจัดทำแผนรวมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบมีส่วนร่วม(IWRM) ของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (พศ. 2553) โดยการสนับสนุนทางวิชาการจากธนาคารโลก (World Bank) และธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ของสำนักงานทรพยากรน้ำแห่งชาติ   สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น  ซึ่งในขณะนั้นได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดทำแผนรวมบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ GIS ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการศึกษาเพื่อจัดทำแผนงานทางด้านการบริการจัดการน้ำ การสำรวจพื้นที่เพื่อจัดทำฐานข้อมูลแผนงานโครงการ การประชุมวิชาการและการจัดประชุมเวทีท้องถิ่น    จึงเป็นที่มาของการค้นคว้าและวิจัยแผนที่เพื่อการพัฒนาในระดับส่วนกลาง  ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ซึ่งไปสอดรับกับที่กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นมีนโยบายให้ทุกท้องถิ่นต้องดำเนินการพัฒนารายได้ด้วยการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ GIS จึงร่วมกับนักวิชาการในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม  เพื่อพัฒนาศักยภาพของพนักงานท้องถิ่นขึ้นที่สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  และที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และขยายผลไปดำเนินการการจัดทำแผนที่ฐานระดับจังหวัด (Base Map) ที่จังหวัดลำพูนโดยร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

         ปี 2555 ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB)  สนับสนุนงบประมาณให้ ประเทศ บังคลาเทศและเวียตนาม จึงมีความร่วมมือในการฝึกอบรมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของประเทศบังคลาเทศและเวียตนาม ในงานด้านต่างๆ ที่กลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจ ที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทยเช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) และหน่วยงานต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนวิทยากร เช่น กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการประสานงานของ Gismans Asia ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิชาการและผู้ปฏิบัติงาน   GIS ทั้งในและต่างประเทศ Gismans Asia  จึงได้พัฒนากระบวนการและองค์ความรู้นั้นมาใช้ในการประยุกต์เป็นหลักสูตรในการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการภาครัฐและการจัดทำข้อมูลเพื่อการจัดเก็บรายได้ ให้เหมาะสมกับภูมิสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความหลากหลายทั้งในพื้นที่เมือง และชนบท โดยน้อมน้ำปรัชญาการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 เรื่องการพัฒนาท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology)  เป็นหลักในการทำงาน

1
4
2
3

         เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2559  ในวาระที่ประเทศไทยจะมีการประชุมการชลประทานโลก ที่จังหวัดเชียงใหม่    ศูนย์ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เชียงใหม่  คุณสุภาพร ทองพุก Gismans Asia ได้ส่งรายงานสรุปผลการประยุกต์ใช้แผนที่ภาษีเพื่อการชลประทานท้องถิ่นให้ท่านนายกรัฐมนตรีทราบ ถึงคุณประโยชน์การประยุกต์ใช้แผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินในงานของการบริหารจัดการน้ำในระดับชลประทาน ในงานรับมอบรางวัลชนะเลิศ คำขวัญการประชุมชลประทานโลก     จากฯพณฯ    พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ทำเนียบรัฐบาล ท้องถิ่น ใน Motto  “การชลประทานอัจฉริยะ    เพื่อความมั่นคงทางอาหารและ ปราศจากความหิวโหย Smart Irrigation For Food Security and Zero Hunger ”

5
7
6
8

           ปี  2550 กรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่นมีนโยบายและมีการสั่งการเร่งรัดให้หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งดำเนินการพัฒนาระบบจัดเก็บรายได้ ในระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน  ให้สามารถจัดเก็บรายได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ จากการวิเคราะห์และศึกษาข้อมูลในปัจจุบัน พบว่าองค์กรปกครองท้องถิ่นส่วนใหญ่ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและทักษะในงานดังกล่าว ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ จากการศึกษาดูงานแผนที่ภาษีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวแล้วเสร็จ  เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้งานระบบและข้อมูลได้จริง  ควรมีการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานในโครงการดังกล่าว ใน 2 ลักษณะ คือการดำเนินการเองบางส่วนที่สามารถดำเนินการเองได้ และการดำเนินการในส่วนที่เป็นเทคนิควิธีการที่ซับซ้อนควรมีผู้เชี่ยวชาญดำเนินการ และเห็นควรวางแผนงานให้มีการปฏิบัติงานและฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ไปด้วยกันเป็นระยะ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานต่อเองได้ภายหลังเสร็จสิ้นโครงการ โดยมีการวางแนวทางในการส่งเสริม ให้ความรู้ พัฒนาทักษะ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ให้สามารถใช้เทคโนโลยีและระบบ GIS ในการสำรวจและจัดทำข้อมูลเพื่อนำเข้าสู่ระบบ LTAX 3000 ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งประเทศ ตามนโนบาย Single Map ของรัฐบาลและบุทธศาสตร์ชาติด้วยการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรภาครัฐตามแผนพัฒนาเศรษกิจสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12

9
10

แผนที่ภาษีในระบบคอมพิวเตอร์เครื่องมือในการจัดเก็บรายได้ของราชการ

          สำนักงานที่ปรึกษา ภูมิศาสตร์สารสนเทศ GISMANs ในฐานะวิทยากรและที่ปรึกษาด้านระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์(GIS) และการสำรวจระยะไกล (Remote sensing) ได้ดำเนินการออกแบบแผนการฝึกเป็น  11 ขั้นตอนในการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินโปรแกรม LTAX 3000 ของกรมส่งการปกครองท้องถิ่นโดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์หรือที่นักวิจัยเรียกว่า ระบบ GIS เป็นระบบงานแผนที่ดิจิตอลระบบจะมีการนำเข้าข้อมูลรูปถ่ายทางอากาศ  รูปถ่ายดาวเทียม แผนที่ระวางที่ดินรูปแปลงที่ดิน  อาคาร  และทรัพย์สินทั้งหมดทำให้กระบวนการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลา ประหยัดงบประมาณซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จบุคลากรของท้องถิ่นสามารถใช้งานในระบบได้ร่วมทั้งนำระบบแผนที่และทะเบียนทรัพย์สินไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการด้านต่าง เช่น การจัดด้านสวัสดิการผู้สูงอายุ การป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ด้านการสาธารณสุข การวางแผนพัฒนา การบริหารจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐาน

          สำนักงานที่ปรึกษาภูมิศาสตร์สารสนเทศ GISMANs ได้ดำเนินการฝึกอบรมการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินโปรแกรม LTAX 3000 ของกรมส่งการปกครองท้องถิ่นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแผนการฝึก 11 ขั้นตอน ทั่วทุกภาคของประเทศ

16
bottom of page